หน่วยตรวจสอบภายใน
วัตถุประสงค์
หน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อ ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินงานและความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินรวมทั้งความถูกต้อง เชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินตลอดจนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สายการบังคับบัญชา
หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยตรวจสอบภายใน และมีสายการบังคับบัญชาขึ้น ตรงต่อปลัดเทศบาลตำบลขึ่ง การเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีให้หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในเสนอต่อนายกเทศมนตรีตำบลขึ่ง อนุมัติให้ดำเนินการ หน่วยตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบตรงต่อปลัดเทศบาล นายกเทศมนตรีตำบลขึ่ง
อำนาจหน้าที่
หน่วยตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานภายในเทศบาลตำบลขึ่งและ มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลเอกสาร ทรัพย์สินเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ หน่วยตรวจสอบภายในไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และระบบการควบคุม ภายในหรือการแก้ไขระบบควบคุมภายใน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ขอบเขตการตรวจสอบภายในจะครอบคลุมทั้งการ ตรวจสอบด้านการเงินและการบัญชีและการตรวจสอบการดำเนินการ รวมทั้งการสอบทานการประเมินผลการ ควบคุมภายใน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ เป็นธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เชี่ยวชาญ และมีความระมัดระวังรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบอาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และทักษะในการติดต่อสื่อสาร มีทัศนะ คติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและผู้รับตรวจ ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ
ความรับผิดชอบ
หน่วยตรวจสอบภายในต้องวางแผนการตรวจสอบและปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งให้ รายงานผลการตรวจสอบโดยการให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล ข้อเสนอแนะ คำปรึกษาตามแนวทาง ที่มาตรฐานการตรวจสอบภายในกำหนด ดังนี้ 1. วางแผนกำหนดเป้าหมายขอบเขตการตรวจสอบภายในครอบคลุมทุกด้าน เพื่อสนับสนุนการ บริหารงานและการดำเนินงานด้านต่างๆ ของเทศบาลตำบลขึ่ง
2. ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3. สอบทานและประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในทั้งทางการเงินการบัญชีและการปฏิบัติงาน
4. ประสานงานกับหน่วยรับตรวจ เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและ ข้อเสนอแนะ ในอันที่จะ ทำให้ผลการตรวจสอบมีประโยชน์สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็น ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนราชการ
6. รายงานผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อเท็จจริงที่ตรวจพบพร้อมทั้งความเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ให้ปลัดเทศบาลทราบและพิจารณาสั่งการ
7. ติดตามผลการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบและติดต่อประสานงานกับผู้รับ ตรวจ เพื่อให้คำ แนะนำในการปรับปรุงให้ถูกต้อง
8. ปฏิบัติงานในการเป็นทึ่ปรึกษาให้ความเห็นและคำแนะนำต่อปลัดเทศบาล หัวหน้าหน่วยรับตรวจ เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ และปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
|